อบอวลไปด้วยกลิ่นอายของ “จีนประยุกต์”

อบอวลไปด้วยกลิ่นอายของ “จีนประยุกต์”

บ้านหลังนี้ใช้เวลาก่อสร้างร่วมสามปีบนพื้นที่ประมาณ 14 – 15 ไร่ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นบ่อเลี้ยงปลาและไม้ผล เช่น มะพร้าว กล้วย ไผ่ต่างๆรวมถึงไม้ดอกไม้ใบริมรั้วและขอบสนาม ส่วนตัวบ้านมีกำแพงด้านในล้อมรอบเพื่อความเป็นส่วนตัวอีกชั้นหนึ่ง

คุณจิณณ์เกษมออกแบบบ้านพักรับรองหลังนี้ เป็นบ้านชั้นเดียว แต่ยกระดับโครงสร้างด้านล่างสูงประมาณ 2.70 เมตร ระบบไฟฟ้า เช่น โคมไฟ ปลั๊กต่างๆอยู่บนเพดานหรือใต้พื้นบ้านทั้งหมด เพราะคาดไว้ว่าอาจมีน้ำท่วม อุทกภัยครั้งใหญ่ที่เพิ่งผ่านไปจึงไม่ทำอันตรายแก่ตัวบ้าน เสียหายเฉพาะสวนที่มีต้นไม้ตายและปลาในบ่อออกมาว่ายเล่น มองเห็นได้จากหน้าต่างของบางห้อง รวมทั้งมีปลาจากทุ่งกกและไมยราบรอบๆ บ้านว่ายเข้ามาอาศัยอีกมากมาย แต่ปลาในบ่อเดิมไม่กล้าว่ายออกไป เพราะกลัวหนามไมยราบต้นสูงที่ล้อมอยู่

จากประตูใหญ่ด้านหน้า เรามองเห็นศาลพระภูมิ ศาลเจ้าแม่กวนอิมตรงบันไดทางขึ้น ซึ่งด้านหลังคือแท่นบูชาพระพิฆเนศวร ฝั่งขวามือทำเป็นโรงรถขนาดใหญ่ ถัดจากแท่นบูชาเป็นบ่อปลาคาร์ปกว้างขวาง มีสะพานไม้ทอดกลางนำสู่ห้องโถงใหญ่ส่วนกลาง ด้านซ้ายของบ่อจัดเป็นห้องทำงานของคุณจิณณ์เกษมด้านขวาจัดเป็นสวนเล็กๆ และสนามหญ้าสำหรับสุนัขหลายสิบตัว รวมทั้งส่วนที่อยู่ของพวกมันและห้องพักของแม่บ้าน

ถัดจากโถงใหญ่ที่มีส่วนของห้องอาหารและแพนทรี่คือสระน้ำกรุกระเบื้องสีฟ้า สดใส จัดวางไม้น้ำอย่างคล้าน้ำช่อตั้งดอกม่วงในโอ่งขนาดใหญ่ไว้เป็นระยะ ติดตั้งน้ำพุเป็นแนว สระนี้ใช้เป็นส่วนตกแต่งและที่พักสายตา ทั้งยังแบ่งอาณาเขตระหว่างห้องพักแขกสามห้องที่ต่อเนื่องเป็นแถวด้านซ้ายมือ กับห้องของเจ้าบ้านทางซีกขวาจำนวนห้าห้อง และยังมีห้องสำรองสำหรับแขกอีกหนึ่งห้องทางด้านนี้ส่วนสระว่ายน้ำอยู่ด้าน หลังของห้องพักแขกซีกซ้าย ซึ่งมีแพนทรี่ขนาดใหญ่ให้ผู้มาพักได้ชงชากาแฟ อุ่นและปรุงอาหารได้สะดวก

ที่นี่ยังมีครัวไทยที่เปิดหน้าต่างโล่งตลอดอยู่ด้านหน้าใกล้ห้องทำงาน และมีแพนทรี่ติดห้องรับประทานอาหารตรงโถงใหญ่อีกจุดหนึ่ง เช่นเดียวกับห้องน้ำส่วนกลางที่จัดวางไว้หลายจุด ไม่รวมห้องน้ำในห้องพักทุกห้อง ทำให้สะดวกเวลามีแขกมาพักหรือเยี่ยมเยียนหลายคน

ในแง่ของการออกแบบ คุณจิณณ์เกษมเน้นการ ถ่ายเทของอากาศและลมจึงแทบไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศเลย บ่อปลาคาร์ปและสระน้ำพุก็ช่วยให้เกิดความเย็นสดชื่นยามมีลมพัดผ่านผิวน้ำ เข้าบ้าน และยังเย็นใจสบายอารมณ์เมื่อเห็นปลาแหวกว่าย น้ำพุพุ่งเป็นแถวกับเสียงน้ำตกกระทบกัน

ส่วนแนวการตกแต่ง เธอเลือกแบบจีนประยุกต์ เพราะที่นครสวรรค์มีวัฒนธรรมจีนโดดเด่นมาตั้งแต่โบราณ ตัวเธอก็มีเชื้อสายจีนและยังชอบงานศิลปะต่างๆ ของจีน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องกระเบื้อง เฟอร์นิเจอร์ ภาพวาด ประตูไม้แกะสลัก ฯลฯ ประกอบกับเธอสะสมชิ้นงานเหล่านี้ไว้มาก เนื่องจากรู้จักร้านค้าของเก่าบางแห่งมานาน เฟอร์นิเจอร์ที่นี่จึงมีทั้งของเก่าแท้และที่เธอออกแบบสั่งทำใหม่มาผสมผสาน หรือเลือกซื้อมา โดยอาจสั่งขยายขนาดเพิ่มให้ลงตัวกับพื้นที่ บานประตูไม้แกะสลักหลายบานก็เป็นของเก่าทำจากไม้หนาหนัก ซึ่งต้องสั่งทำฐาน และเดือยเหล็กรองรับให้เหมาะ จนได้บานประตูที่สวยงามและแข็งแรง

โถงใหญ่ส่วนกลางโดดเด่นด้วยบานเฟี้ยมไม้โปร่งรายรอบสะดุดตา ประกอบกับเพดานสูงเหนือห้องชั้นลอยที่ต่อเนื่องกับระเบียงทางเดินโปร่งรอบ เพดานสูงทำให้อากาศถ่ายเทดีและไม่ร้อน ผู้ที่อยู่ภายในก็รู้สึกได้ถึงความโปร่งโล่งสบาย มุมนี้จึงเป็นศูนย์รวมที่ใช้งานได้ดีดังใจผู้ออกแบบ

อบอวลไปด้วยกลิ่นอายของ “จีนประยุกต์”


อบอวลไปด้วยกลิ่นอายของ “จีนประยุกต์”


อบอวลไปด้วยกลิ่นอายของ “จีนประยุกต์”


อบอวลไปด้วยกลิ่นอายของ “จีนประยุกต์”


อบอวลไปด้วยกลิ่นอายของ “จีนประยุกต์”


อบอวลไปด้วยกลิ่นอายของ “จีนประยุกต์”


ขอบคุณภาพจาก http://www.baanlaesuan.com/

เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์