6 กฎหมายน่ารู้เพื่อรับมือข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดัง
1. ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังมีความผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421
ในกรณีที่ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดัง เจ้าของบ้านผู้ได้รับความเสียหายสามารถใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 และ 421 ดำเนินการเพื่อรับสินไหมทดแทนกับข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังได้
โดยกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 ระบุว่า "ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น"
ส่วนกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 421 เป็นกฎหมายเกี่ยวกับ "การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย"
ดังนั้น หากข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดัง จงใจรบกวนก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ สร้างความเสียหายต่อสิทธิในการอยู่อาศัยอย่างสงบในบ้านเรือนของคุณเอง หากตักเตือนแล้วแต่ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังเช่นนั้นดังเดิมถือเป็นการละเมิดสิทธิ คนข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังจะต้องเยียวยาด้วยสินไหมทดแทนหรือเยียวยาความเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพเดิมอย่างเหมาะสม
2. ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังมีความผิดตามประมวลกฎหมายและพาณิชย์มาตรา 1337
ประมวลกฎหมายและพาณิชย์มาตรา 1337 กล่าวไว้ว่า "บุคคลใดใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร ในเมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์สินนั้นมาคำนึงประกอบไซร้ ท่านว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิจะปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไป ทั้งนี้ไม่ลบล้างสิทธิที่จะเรียกเอาค่าทดแทน"
หากมองความเสียหายของกรณีข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังโดยคำนึงถึงสภาพและตำแหน่งที่อยู่ของทรัพย์สินเจ้าบ้านหรือเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนรำคาญ เจ้าของบ้านมีสิทธิที่จะยุติความเสียหายหรือความเดือดร้อนรำคาญที่เกิดขึ้นได้อีกทั้งยังสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังได้ด้วย
3. ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 370 มีโทษปรับ 1,000 บาท
ในกรณีที่ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังจนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่แก้ไขไม่ได้และเจ้าของบ้านผู้ได้รับความเสียหายต้องการดำเนินการทางกฎหมาย เจ้าบ้านผู้เสียหายสามารถเอาผิดทางอาญาได้โดยในกรณีที่ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังโดยไม่มีเหตุอันสมควร ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เป็นความผิดลหุโทษ
เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 370 ซึ่งมีโทษปรับข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังเป็นจำนวนเงิน 1,000 บาท โดยกฎหมายระบุไว้ว่า "ผู้ใดส่งเสียง ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึง โดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท"
โดยกฎหมายตามมาตรานี้ครอบคลุมทั้งกรณีที่ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดัง การเล่นดนตรี หรือมีการสังสรรค์เสียงดังเกินกว่าค่ามาตรฐาน คือ 70 เดซิเบล
4. ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังกับบัญญัติการสาธารณสุข 2535 มาตรา 25
ในกรณีที่ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ที่พักอาศัยบริเวณใกล้เคียงหรือก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ถือเป็นเหตุรำคาญที่มีผลต่อสุขภาพ
การที่ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังจึงถือว่าเข้าข่ายความผิดต่อประมวลกฎหมายอาญาและบัญญัติการสาธารณสุข 2535 มาตรา 25 ที่ว่า "ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อน แก่ผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง หรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้น ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ การกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือนฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ"
5. ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังกับบัญญัติการสาธารณสุข 2535 มาตรา 26
ตามบัญญัติการสาธารณสุข 2535 มาตรา 26 ที่ว่า "ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจห้ามผู้ใดผู้หนึ่งมิให้ก่อเหตุรำคาญ ในที่ หรือทางสาธารณะหรือสถานที่เอกชนรวมทั้งการระงับเหตุรำคาญด้วย ตลอดทั้งการดูแล ปรับปรุง บำรุงรักษา บรรดาถนน ทางบก ทางน้ำ รางระบายน้ำ คู คลอง และสถานที่ต่าง ๆ ในเขตของตนให้ปราศจากเหตุรำคาญในการนี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเพื่อระงับ กำจัด และควบคุมเหตุรำคาญต่าง ๆ ได้"
ดังนั้น หากเกิดกรณีข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังถือเป็นการละเมิดสิทธิผู้อื่นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่มีอำนาจห้ามไม่ให้ผู้ใดก่อเหตุรำคาญในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชนสามารถเข้ามาระงับกรณีข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังได้
6. ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังกับบัญญัติการสาธารณสุข 2535 มาตรา 27
หากข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังถือว่าขัดต่อบัญญัติการสาธารณสุข 2535 มาตรา 27 ที่ว่า "ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคล ซึ่งเป็นต้นเหตุ หรือเกี่ยวข้องกับการก่อ หรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญนั้น ระงับ หรือป้องกันเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควร ตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ให้ระบุไว้ในคำสั่ง"
เครดิตแหล่งข้อมูล : ddproperty