ตะขาบเข้าบ้านอันตราย รับมือด้วย 8 วิธี


ตะขาบเข้าบ้านอันตราย รับมือด้วย 8 วิธี

วิธีไล่ตะขาบไม่ให้เข้าบ้าน
วิธีไล่ตะขาบไม่ให้เข้าบ้านนั้นสามารถทำได้หลายวิธีทั้งวิธีธรรมชาติ และการใช้สารเคมี ดังนี้

1. เลี้ยงไก่
หากเป็นไปได้ให้คุณเลี้ยงไก่ ถือเป็นวิธีไล่ตะขาบที่ได้ผลอย่างมาก โดยไก่นอกจากจะป้องกันไม่ให้ตะขาบเข้าบ้านแล้ว ยังช่วยกำจัดตะขาบได้ด้วย

2. ใช้สบู่ปิดไว้ตามท่อน้ำ

ช่องทางหนึ่งที่ตะขาบมักหลบรอดเข้ามาในบ้านก็คือท่อระบายน้ำต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำ หรือห้องครัว วิธีไล่ตะขาบง่าย ๆ ก็คือนำสบู่ไปวางปิดไว้บนฝาท่อน้ำดังกล่าว โดยสบู่ที่มีความลื่น และมีความด่างในตัวจะช่วยไล่ตะขาบออกไปได้

3. ใช้น้ำส้มควันไม้

น้ำส้มควันไม้ที่มีขายตามร้านอุปกรณ์การเกษตร หรือตามซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่ง เป็นอีกวิธีไล่ตะขาบที่ได้ผลดี โดยน้ำส้มควันไม้จะมีส่วนผสมของน้ำมันทาร์และยางเรซิน

เมื่อนำมาผสมกับน้ำแล้วฉีดพ่นในบริเวณที่คาดว่าตะขาบจะเข้ามาในบ้าน จะช่วยไล่ตะขาบหรือแมลงมีพิษต่าง ๆ ได้อย่างดี ทั้งนี้ ในการฉีดพ่นควรระวังอย่าให้เข้าตาหรือโดนร่างกายเนื่องจากมีความเป็นกรดสูง

4. ใช้โซดาไฟ

โซดาไฟสารพัดประโยชน์ที่สามารถทำความสะอาดและป้องกันสัตว์ไม่พึงประสงค์เข้าบ้านได้อย่างดี และเป็นอีกหนึ่งวิธีไล่ตะขาบไม่ให้เข้าบ้าน เพียงแค่เทโซดาไฟใส่ในท่อน้ำ หรือจุดที่คาดว่าตะขาบจะเข้ามาในบ้าน เพียงเท่านี้ก็ไล่ตะขาบออกไปได้แล้ว

5. ใช้ปูนขาว

เทปูนขาวตามจุดที่คาดว่าตะขาบจะเข้ามาในบ้าน หรือจุดที่ตะขาบซ่อนตัวอยู่ ก็จะสามารถไล่ตะขาบได้แล้ว โดยหากผสมน้ำมะกรูดลงไปด้วยจะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการไล่ตะขาบมากขึ้น และต้องอย่าลืมโรยปูนขาวบ่อย ๆ เพื่อให้ไล่ตะขาบได้นานขึ้น

6. ใช้ผงล้างห้องน้ำ

อีกหนึ่งวิธีไล่ตะขาบด้วยการใช้สารเคมี ง่าย ๆ เพียงแค่ โรยผงล้างห้องน้ำไปตามท่อน้ำ หรือจุดที่คาดว่าตะขาบจะเข้ามาในบ้าน เท่านี้ก็สามารถไล่ตะขาบได้แล้ว แต่ต้องระวัง และคอยเตือนคนในบ้าน โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็ก ๆ ให้ป้องกันอันตรายจากการสัมผัสผงล้างห้องน้ำด้วย

7. ใช้ผงไล่ตะขาบ ก้อนไล่ตะขาบ สเปรย์ไล่ตะขาบ

ปัจจุบันมีการพัฒนาตัวช่วยในการไล่ตะขาบให้สะดวกสบายมากขึ้น มีทั้งรูปแบบผง ก้อน และสเปรย์ มีความปลอดภัยสูงเนื่องจากสกัดจากสมุนไพร โดยจะส่งกลิ่นพิเศษช่วยไล่ตะขาบออกไปจากบ้าน

8. หลีกเลี่ยงวิธีกำจัดตะขาบด้วยการเหยียบ หรือทุบ

หลีกเลี่ยงการกำจัดตะขาบด้วยการเหยียบ หรือทุบ เนื่องจากตะขาบที่ถูกเหยียบจะปล่อยฟีโรโมนออกมา ซึ่งจะดึงดูดตะขาบตัวอื่นให้เข้ามายังบริเวณที่ตะขาบตัวนั้นตาย

วิธีป้องกันตะขาบไม่ให้เข้าบ้าน
เนื่องจากตะขาบเป็นสัตว์บก แต่ชอบอาศัยอยู่ในที่ชื้นแฉะ เมื่อฝนตกและน้ำท่วมขังสูงขึ้นท่วมแหล่งที่มันอยู่อาศัย ตะขาบอาจหนีน้ำมายังพื้นที่แห้งนั่นคือบ้านของเรา วิธีการป้องกันตะขาบไม่ให้เข้าบ้านคือ การปิดช่อง ร่อง หรือมุมผนังที่เป็นรอยแตกต่าง ๆ

ไม่ให้ตะขาบสามารถเข้ามาในบ้านได้ ดูแลรักษาบริเวณที่อยู่อาศัยไม่ให้รกรุงรังกำจัดเศษอาหาร และควบคุมปริมาณแมลงเพื่อกำจัดแหล่งอาหารของตะขาบ

ทำอย่างไรเมื่อถูกตะขาบกัด

หากลองใช้วิธีไล่ตะขาบแล้วก็ยังพลาดท่าเสียทีถูกตะขาบกัด มีวิธีรับมือดังนี้
อาการที่พบได้หลังถูกตะขาบกัด

1. ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับขนาดของตะขาบที่กัด ซึ่งโดยปกติพิษของตะขาบจะไม่รุนแรงถึงแก่ชีวิต

2. อาการส่วนใหญ่ ได้แก่ อาการปวด คัน บวมแดงร้อน บริเวณถูกกัด อาจมีไข้ต่ำ ๆ ร่วมด้วย และอาการมักจะดีขึ้นเองภายใน 24 ชั่วโมง

3. บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ปวดหัว ต่อมน้ำเหลืองโตคลำได้หรือกดเจ็บ แต่อาการต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะหายได้เองในที่สุด

วิธีการดูแลตัวเองหลังถูกตะขาบกัด

1. กินยารักษาตามอาการ เช่น กินพาราเซตามอลแก้ปวด หรือกินยาแก้คัน

2. ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด

3. ใช้ยาหม่องหรือยาสามัญประจำบ้านถูทาบาง ๆ และเบา ๆ บริเวณที่ถูกกัดต่อย

4. ถ้าปวดมาก ให้ใช้น้ำอุ่นประคบแผลนาน 15-20 นาที แต่ต้องระวังอย่าใช้น้ำร้อนเกินไป

5. หากมีประวัติแพ้พิษตะขาบ มีอาการปวดมาก มีอาการหอบ แน่นหน้าอก เหนื่อย มีอาการไข้ขึ้น หรือต่อมน้ำเหลืองโต ให้รีบไปพบแพทย์

อย่างไรก็ตาม วิธีไล่ตะขาบที่ดีที่สุดก็มีวิธีการเช่นเดียวกับการไล่สัตว์ไม่พึงประสงค์ในบ้านอื่น ๆ คือการดูแลบ้านให้สะอาด ไม่ให้รกรุงรัง และกำจัดเศษอาหารไม่ให้บ้านกลายเป็นที่น่าอยู่สำหรับสัตว์ต่าง ๆ เหล่านี้นั่นเอง

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

เครดิตแหล่งข้อมูล :ddproperty


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์