ฤกษ์ยกเสาเอกบ้าน 2566 ตามปฏิทินจันทรคติ เสริมสิริมงคล


ฤกษ์ยกเสาเอกบ้าน 2566 ตามปฏิทินจันทรคติ เสริมสิริมงคล

คนไทยนั้นมีความเชื่อว่า หากเริ่มต้นอย่างเป็นมงคลแล้ว ทุกสิ่งที่ตามมาย่อมมีแต่สิ่งดี ๆ เช่นเดียวกับพิธีลงเสาเอกบ้าน ซึ่งเชื่อว่าพิธีลงเสาเอกบ้านเป็นการนำเสาหลักของบ้านตามเวลาฤกษ์งามยามดี ฤกษ์ยกเสาเอกบ้าน 2566 วันไหนดี

หากทำพิธีลงเสาเอกถูกวัน ถูกวิธีแล้ว จะทำให้บ้านสามารถอยู่อาศัยได้อย่างร่มเย็นเป็นสุข ดังนั้นความสำคัญของพิธีลงเสาเอกกับคนไทย จึงกลายเป็นธรรมเนียมที่ขาดไม่ได้สำหรับการสร้างบ้านใหม่

พิธีลงเสาเอกบ้านคืออะไร

ก่อนจะหาฤกษ์ยกเสาเอกบ้าน 2566 มาดูความหมายและความสำคัญของพิธีลงเสาเอกบ้านก่อนว่าคืออะไร ทำไมสร้างบ้านใหม่ถึงต้องให้ความสำคัญ

หากตัดเรื่องความเชื่อออกไป เสาเอกบ้านนั้นก็นับเป็นโครงสร้างที่มีความสำคัญของอาคารมากทีเดียว เนื่องจากเสาเอกบ้าน คือเสาที่ทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักของอาคาร เพื่อให้โครงสร้างบ้านมีความแข็งแรง โดยแต่เดิมในอดีต วัสดุที่ใช้สร้างบ้านส่วนใหญ่เป็นไม้ เสาเอกบ้านจึงต้องเป็นเสาไม้ด้วยเช่นกัน เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป เสาเอกบ้านจึงมีการเปลี่ยนมาเป็นคอนกรีต ตามวัสดุที่ใช้สร้างบ้านในปัจจุบัน
นอกจากนั้นในด้านความเชื่อแล้ว พิธีลงเสาเอกบ้านยังเป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคง เนื่องจากเสาเอกบ้าน เป็นการแทนสัญลักษณ์ของผู้ชายที่ความเป็นผู้นำ มีความแข็งแรง เปรียบเสมือนพ่อซึ่งเป็นช้างเท้าหน้าของบ้าน เพื่อปกป้องและดูแลครอบครัวและคนในบ้านให้อยู่ดีเป็นสุขนั่นเอง

พิธีลงเสาเอกต้องเริ่มจากอะไร

1. วันและเวลามงคลตามโฉลกของเจ้าของบ้าน
ตามความเชื่อแล้ว พิธีลงเสาเอกบ้านคือการเริ่มต้นสร้างบ้านเพื่อความเป็นมงคล ดังนั้นพิธีลงเสาเอกบ้านที่ถูกต้อง จึงยึดถือตามเวลาและวันมงคลเป็นหลัก ซึ่งวันและเวลามงคลจะขึ้นอยู่กับโฉลกของเจ้าของบ้านเป็นหลัก โดยจะเป็นการอ้างอิงตามปฏิทินจันทรคติ หรือการนับเดือนแบบไทย เช่น เดือนอ้าย, เดือนยี่, เดือน 4, เดือน 5, เดือน 9 หรือเดือน 12

โดยทั่วไปแล้วฤกษ์ยกเสาเอกบ้าน 2566 จะยึดจากวันเดือนปีเกิดของเจ้าของบ้าน ในการกำหนดวัน เวลา และตำแหน่งของเสาเอกที่เหมาะสมของบ้าน ซึ่งหากใครไม่มีความรู้ในด้านนี้ ก็สามารถสอบถามโหรฯ หรือพระอาจารย์ ที่มีความรู้ในด้านนี้ก็ได้

2. ฤกษ์ที่เหมาะสมของพิธีลงเสาเอกบ้าน
สำหรับฤกษ์งามเวลาที่เหมาะสม ฤกษ์ยกเสาเอกบ้าน 2566 จะเชื่อตามเลขมงคล ซึ่งส่วนใหญ่มักจะยึดเลข 9 ซึ่งมีความหมายตามความเชื่อว่า ‘ความก้าวหน้า' ฤกษ์เวลาที่นิยมในการทำพิธีลงเสาเอกจึงมักจะเป็นเวลา 9.00 น. นั่นเอง

เนื่องจากในปัจจุบัน พิธีลงเสาเอกบ้านได้มีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย โดยเริ่มเปลี่ยนจากการใช้เสาไม้เป็นการใช้เสาเอกเป็นเสาคอนกรีต ดังนั้นฤกษ์ยกเสาเอกบ้าน 2566 ที่เหมาะสม จึงแล้วแต่ความเชื่อของคน ว่าจะเริ่มนับการเริ่มต้นของพิธีลงเสาเอกบ้านจากเวลาที่ตอกเสาเข็มต้นแรก หรือจะยึดตามเวลาที่เทคอนกรีตลงบนฐานรากก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเชื่อและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่

3. ของมงคลสำหรับพิธีลงเสาเอกบ้าน
โดยทั่วไปแล้ว ของมงคลสำหรับใช้ในพิธีลงเสาเอกจะประกอบด้วย โต๊ะหมู่บูชาที่จัดเตรียมไว้อย่างเรียบร้อย เครื่องสักการะ ชุดจตุปัจจัยไทยสำหรับถวายพระ สายสิญจน์ ผ้าสามสี ผ้าหัวเสา ผ้าห่มเสา
ผ้าแพรสีเหลืองหรือผ้าขาวม้า เครื่องสำหรับบูชาฤกษ์หรือเครื่องสังเวยเทวดา แผ่นนาก แผ่นเงิน แผ่นทอง ทองคำเปลว ข้าวตอกดอกไม้ เหรียญเงินและทองอย่างละ 9 เหรียญ น้ำมนต์ 1 ขันและหญ้าคา 1 กำ หน่ออ้อยและกล้วย ทรายเสก แป้งตอกตามเหมาะสม ไม้มงคล 9 อย่าง และใบไม้มงคล ซึ่งของมงคลทั้งหมดนี้ สามารถสอบถามจากโหรฯ หรือพระอาจารย์ ที่นิมนต์เชิญเพื่อมาทำพิธีลงเสาเอก ตามฤกษ์ยกเสาเอกบ้าน 2566 ได้

โดยการนำไม้มงคล 9 อย่างมาประกอบในพิธีลงเสาเอก ตามฤกษ์ยกเสาเอกบ้าน 2566 จะเสริมความเป็นสิริมงคลของบ้านใหม่ครบทุกด้าน ซึ่งมีความเชื่อว่าห้ามขาดไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งเด็ดขาด

5. ใบไม้มงคลสำหรับพิธีลงเสาเอก
ใบไม้มงคลที่มักจะนำมาใช้ประกอบพิธีลงเสาเอก ก็จะใช้ใบไม้ที่มีความหมายดี ๆ เช่นเดียวกับไม้มงคล 9 อย่างเช่นเดียวกัน โดยใบไม้ที่นิยมมาใช้ ได้แก่
- ใบทอง ใบเงิน ใบนาก ช่วยเสริมทรัพย์สินเงินทอง
- ใบทับทิม ช่วยขจัดความทุกข์ต่าง ๆ
- ใบพลู ช่วยเสริมยศถาบรรดาศักดิ์
- ใบมะรุม ช่วยเสริมเสน่ห์และความนิยม
- ใบมะขาม ช่วยเสริมความน่าเกรงขาม
- ใบยอ ช่วยให้มีคนสรรเสริญ
- ใบมะยม ช่วยเสริมความนิยมรักใคร่
- ใบโกศล ช่วยเสริมบุญกุศลและบารมี
- ใบวาสนา ช่วยเสริมวาสนา
- ใบโมก ช่วยให้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง
- ใบชวนชม ช่วยเสริมคสามมั่งคั่ง ร่ำรวย

พิธีลงเสาเอกบ้านมีขั้นตอนอย่างไร

1. นำหน่อกล้วย หน่ออ้อย และผ้าสามสี ผูกติดกับเสาเหล็กที่จะใช้ในการเป็นเสาเอกบ้าน โดยควรจัดเตรียมให้เรียบร้อยก่อนถึงวันพิธี

2. หากไม่ได้เชิญพราหมณ์หรือพระอาจารย์มาช่วยทำพิธี สามารถเชิญผู้หลักผู้ใหญ่หรือเจ้าของบ้านเป็นผู้ทำพิธีได้ โดยเริ่มวางสายสิญจน์ตั้งแต่บริเวณโต๊ะหมู่บูชา ยาวไปจนถึงบริเวณเสาเอก

3. เจ้าภาพของพิธีลงเสาเอกจุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชา อธิษฐานถึงความเป็นสิริมงคล และกราบพระที่โต๊ะหมู่บูชาและโต๊ะเครื่องสังเวยเทวดา ให้ช่วยคุ้มครอง

4. ตอกไม้มงคล 9 ชนิดไปในหลุมเสาเอก

5. วางแผ่นนาก แผ่นเงิน แผ่นทอง และเหรียญเงินลงไปในหลุม

6. นิมนต์พระสงฆ์มาพรมน้ำมนต์ และโปรยทรายเสกลงที่หลุมเสาเอก เจิมและปิดแผ่นทองที่เสาเอก

7. เจ้าภาพและผู้ร่วมพิธี ร่วมกันถือสายสิญจน์และยกเสาเอกให้เรียบร้อย

8. เจ้าภาพโปรยข้าวตอกดอกไม้ และแป้งหอม ลงที่หลุมเสาเอก เป็นอันจบพิธี

อย่างไรก็ตาม พิธีลงเสาเอกบ้านนั้นเป็นพิธีที่ทำขึ้นตามความเชื่อและความสบายใจของผู้อยู่อาศัยเท่านั้น โดยถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี เสริมความเป็นสิริมงคล ให้การอยู่อาศัยนั้นร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งหากรู้ฤกษ์ยกเสาเอกบ้าน 2566 และทำพิธีลงเสาเอกด้วยเจตนาที่ดี ก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องดี ๆ ด้วยกันทั้งสิ้น

เครดิตแหล่งข้อมูล : ddproperty


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์