เป็นเจ้าบ้านได้กี่หลัง เป็นเจ้าบ้าน 2 หลังได้ไหมในทะเบียนบ้าน
หน้าแรกTeeNee รีวิวบ้าน สวน บิลท์อิน ตกแต่ง ความรู้อสังหา เป็นเจ้าบ้านได้กี่หลัง เป็นเจ้าบ้าน 2 หลังได้ไหมในทะเบียนบ้าน
หลายคนอาจสงสัยว่า "เจ้าของบ้าน" กับ "เจ้าบ้าน" ที่ถูกระบุไว้ในทะเบียนบ้าน นั้นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพราะดูเหมือนบางคนอาจจะเข้าใจผิดกับอำนาจกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง ซึ่งตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2538 ได้อธิบายบทบาทของทั้ง 2 คำไว้ว่า
เจ้าบ้านในทะเบียนบ้านกับเจ้าของบ้านแตกต่างกันอย่างไร
เจ้าบ้าน ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้าน ในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือ ในฐานะอื่นใดก็ตาม โดยในกรณีที่ไม่ปรากฎเจ้าบ้านหรือไม่อยู่ ตาย สูญหาย สาบสูญ หรือไม่สามารถปฏิบัติกิจการได้ ให้ถือว่าบุคคลผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านในขณะนั้นเป็นเจ้าบ้าน
เจ้าของบ้าน เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย โดยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายถึง ผู้ทรงกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีอำนาจใช้สอย จำหน่าย จ่ายโอน ปล่อยเช่า ได้ดอกผลจากการติดตามและเอาคืน ซึ่งทรัพย์สินของตนรวมถึงขัดขวางมิให้ผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบกฎหมาย
เป็นเจ้าบ้านได้กี่หลัง เป็นเจ้าบ้าน 2 หลังได้ไหม
บุคคลคนหนึ่งสามารถเป็นเจ้าบ้านได้กี่หลัง คำตอบ คือ เป็นเจ้าของบ้านและที่ดิน คอนโดมิเนียม กี่แห่งกี่หลังก็ได้ แต่กรณีเป็นเจ้าของบ้านที่มีบ้านมากกว่า 1 หลัง ไม่สามารถเป็นเจ้าบ้านเองได้ทุกหลัง
โดยในทะเบียนราษฎร ได้กำหนดไว้แล้วว่า บุคคลคนหนึ่งสามารถมีภูมิลำเนาได้เพียงภูมิลำเนาเดียวเท่านั้น จึงเป็นเหตุให้ผู้เป็นเจ้าของบ้าน สามารถมีชื่อเป็นเจ้าของบ้านได้เพียงที่เดียว ส่วนบ้านที่เหลือ ผู้เป็นเจ้าของบ้านจะต้องทำการแต่งตั้งเจ้าบ้านขึ้นมาเพื่อให้มีหน้าที่ดูแลการย้ายเข้าย้ายออกของผู้อยู่อาศัยภายในบ้านนั้น ๆ
สิทธิของเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านมีอะไรบ้าง
เมื่อเข้าใจความหมายของคำว่าเจ้าบ้านแล้ว รู้แล้วว่าเป็นเจ้าบ้านได้กี่หลัง มารู้บทบาทสิ่งที่คนเป็นเจ้าบ้านต้องทำ ซึ่งตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ได้กำหนดให้ผู้เป็นเจ้าบ้าน มีหน้าที่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนดังต่อไปนี้
โดยการแจ้งเกิด ย้ายเข้า-ออก สร้างบ้านใหม่หรือรื้อถอน และขอเลขที่บ้าน ต้องแจ้งภายใน 15 วัน ส่วนการแจ้งตายต้องแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือพบศพ และถ้าไม่ปฏิบัติจะต้องเสียค่าปรับ 1,000 บาท
ทั้งนี้ หากเจ้าบ้านมีกิจธุระไม่สามารถมาแจ้งด้วยตนเองได้ สามารถมอบอำนาจให้สมาชิกภายในบ้านเข้ามาแจ้งกับเจ้าหน้าที่ได้ โดยเจ้าหน้าที่จะระบุว่าบุคคลอันได้รับมอบหมาย เป็นผู้ดูแลบ้านแทนเจ้าบ้าน
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า กรรมสิทธิ์ของชื่อเจ้าบ้านอันถูกระบุไว้ในทะเบียนบ้านนั้น จะสามารถทำกิจการใด ๆ ได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นคัดชื่อ เข้า ออก ทั้งการอยู่เอง หรือเช่า จะต้องมีความเกี่ยวข้องกับทะเบียนราษฎรเท่านั้น แต่จะไม่มีสิทธิครอบครองบ้าน
ดังนั้นหากวันดีคืนดีเกิดไม่พอใจสมาชิกในบ้าน แล้วต้องการไล่ออกจากบ้าน พร้อมคัดชื่อออก กรณีนี้เจ้าบ้านไม่มีสิทธิทำได้ ยกเว้นชื่อเจ้าบ้านเป็นชื่อเดียวกับเจ้าของบ้านเท่านั้น
วันดีคืนดี เจ้าบ้านหายตัวหรือเสียชีวิต กรรมสิทธิ์เป็นของใคร
หากเกิดเหตุการณ์เจ้าบ้านที่ปรากฎชื่อในทะเบียนบ้าน ได้เกิดหายตัวหรือตายไปจนระยะเวลาล่วงเลยไปกว่า 180 วัน สามารถไปแจ้งสำนักงานเขตเพื่อแก้ไข โดยสามารถคัดชื่อเจ้าบ้านไปทะเบียนกลางได้ พร้อมคัดชื่อเจ้าบ้านใหม่ จากความเห็นชอบของสมาชิกในบ้าน
มีชื่อในทะเบียนบ้านหลายหลังได้หรือไม่
คำตอบ คือ ไม่ได้ สำหรับคนที่มีบ้านหลายหลัง โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ แน่นอนว่าคนเหล่านี้จะมีทะเบียนบ้านหลายฉบับ แต่ทางกฎหมาย เป็นเจ้าบ้านได้กี่หลัง จำเป็นต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้เพียงฉบับเดียวเท่านั้น
โดยสามารถใช้ชื่อฐานะเจ้าบ้านหรือผู้ดูแลบ้านได้ เนื่องจากตามกฎหมายไม่อนุญาตให้บุคคลเดียวกันมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านมากกว่าหนึ่งฉบับในเวลาเดียวกัน เพราะจะกระทบต่อบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ดังนั้นนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือกลุ่มคนทำงานที่ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด สามารถใช้วิธีนำชื่อของญาติ พ่อแม่ พี่น้อง มาใส่ในทะเบียนบ้านหลังอื่น ๆ ได้
ชื่อในทะเบียนบ้าน ปล่อยว่างได้หรือไม่
หากไม่สามารถหาชื่อญาติ พ่อแม่ พี่น้อง มาใส่ในทะเบียนบ้านได้ สามารถทำให้ชื่อในทะเบียนปล่อยว่างได้หรือไม่ กรณีดังกล่าวสามารถทำได้ แต่ถ้าเกิดวันหนึ่งอยากขายบ้าน ขายคอนโดขึ้นมาและถือครองอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่ถึง 5 ปี จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามที่กฎหมายกำหนด หากไม่อยากเสียภาษีแนะนำให้หาญาติมาใส่ชื่อในทะเบียนบ้านน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ
เครดิตแหล่งข้อมูล :ddproperty
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!