บ้านร้อนอบอ้าวแก้ไม่ยากกับ เทคนิคบ้านเย็นไม่ง้อแอร์
หน้าแรกTeeNee รีวิวบ้าน สวน บิลท์อิน ตกแต่ง ไอเดียในการต่อเติม ปรับปรุง บ้านร้อนอบอ้าวแก้ไม่ยากกับ เทคนิคบ้านเย็นไม่ง้อแอร์
ไม่ว่าจะฤดูหนาว ฝน หรือฤดูร้อน แต่หลาย ๆ บ้านก็ยังเผชิญกับปัญหาบ้านร้อนอบอ้าวและร้อนมากตลอดทุกฤดู ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากสภาพอากาศของประเทศไทยที่ร้อนเท่านั้น แท้จริงแล้วบ้านร้อนอบอ้าว มีต้นเหตุมาจากความร้อนสะสมที่มีอยู่ภายในบ้าน เพียงเพราะระบบระบายอากาศภายในบ้านไม่ดีนั่นเอง
สำหรับที่มาของปัญหา "บ้านร้อนอบอ้าว" เกิดจากการที่อากาศร้อนจากภายนอกถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้าน โดยไม่ได้มีการถ่ายเทออกภายนอกบ้าน ส่งผลให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านรู้สึกร้อน อบอ้าว ลองมาดูเช็กลิสต์สาเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขให้บ้านเย็นอย่างถูกวิธี
สาเหตุที่ทำให้บ้านร้อนอบอ้าว
สำหรับที่มาของปัญหา "บ้านร้อนอบอ้าว" เกิดจากการที่อากาศร้อนจากภายนอกถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้าน โดยไม่ได้มีการถ่ายเทออกภายนอกบ้าน ส่งผลให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านรู้สึกร้อน อบอ้าว ลองมาดูเช็กลิสต์สาเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขให้บ้านเย็นอย่างถูกวิธี
สาเหตุที่ทำให้บ้านร้อนอบอ้าว
1. ใช้พื้นที่เต็มจนขาดพื้นที่สีเขียว
หลายบ้านไม่มีเวลาดูแลพื้นที่สีเขียว จึงไม่ต้องการให้มีสนามหญ้า และเน้นทำเป็นลานคอนกรีตเต็มพื้นที่รอบบ้าน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไอร้อนเข้าบ้าน หรือเลือกที่จะไม่ปลูกต้นไม้ใหญ่ ซึ่งจริง ๆ มีประโยชน์สำหรับการใช้บังแดด หรือกระทั่งการปลูกต้นไม้กระถางก็ไม่มี สร้างความรู้สึกร้อนให้กับผู้อยู่อาศัย
2. ผังบ้านวางไม่ถูกทิศ
ต้นเหตุของบ้านร้อนอบอ้าวส่วนหนึ่งมาจากการตำแหน่งห้องในบ้านไม่ถูกทิศ ทำให้ร้อนและอึดอัด หรือกระทั่งไม่มีกันสาดหรือระแนงกันความร้อนจากแสงแดดในช่วงบ่ายทางทิศใต้และทิศตะวันตก นอกจากนี้ยังมาจากพฤติกรรมของผู้อาศัยที่ไม่ยอมเปิดหน้าต่างทางทิศเหนือและทิศใต้ทำให้ลมไม่เข้าบ้าน อากาศไม่ถ่ายเทจึงอึดอัด และร้อน
ทิศอะไรเหมาะเป็นห้องอะไร
ห้อง ทิศที่เหมาะสม
พื้นที่นั่งเล่นและรับแขก ทิศเหนือ
พื้นที่ห้องนอน ทิศตะวันออก
พื้นที่ห้องครัวและห้องน้ำ ทิศตะวันตก
พื้นที่ซักล้าง ทิศตะวันตก
3. การต่อเติมบ้านที่ไม่ถูกต้อง
การปรับปรุงหรือต่อเติมบ้านโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง เช่น รั้วบ้านสูงและทึบ จนลมไม่สามารถพัดผ่านเข้าสู่ภายในบ้าน หรือการต่อเติมบ้านจนไม่มีทางให้แสงและลมเข้าออก ทำให้บ้านมืดทึบและร้อนอบอ้าว และการติดตั้งฝ้าเพดานเตี้ยเกินไป ทำให้ความร้อนที่ต้องลอยตัวขึ้นด้านบนยังคงลอยตัวในระดับต่ำ
4. เลือกเฟอร์นิเจอร์ไม่เหมาะกับบ้าน
เฟอร์นิเจอร์ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มเสน่ห์ให้กับบ้าน ซึ่งนอกจากการเลือกที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์และฟังก์ชั่นการใช้งานแล้ว หากเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่มีขนาดใหญ่ไปจะทำให้อึดอัดแล้ว และยังปิดกั้นทางลมผ่าน ส่งผลให้บ้านร้อนอบอ้าวอีกด้วย
5. ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ถูกต้อง
บ้านที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้บ้านร้อนอบอ้าวได้ และหลายคนมองข้ามในเรื่องของการเลือกใช้หลอดไส้โคมดาวน์ไลท์ ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้ความร้อนมากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ และห้องครัวไม่ได้ติดตั้งเครื่องดูดควันและพัดลมดูดอากาศ ทำให้ความร้อน กลิ่น และควัน สะสมอยู่ในตัวบ้าน
6. สีก็มีความสำคัญ
การทาสีบ้านเป็นรสนิยมของแต่ละคน ซึ่งการเลือกโทนสีเข้มทั้งภายนอกและภายในบ้าน อาจทำให้ผนังสะสมความร้อนมากเกินไป ดังนั้นการเลือกสีทาบ้านควรเลือกสีโทนอ่อนมากกว่าจะเป็นโทนเข้ม
ห้อง ทิศที่เหมาะสม
พื้นที่นั่งเล่นและรับแขก ทิศเหนือ
พื้นที่ห้องนอน ทิศตะวันออก
พื้นที่ห้องครัวและห้องน้ำ ทิศตะวันตก
พื้นที่ซักล้าง ทิศตะวันตก
3. การต่อเติมบ้านที่ไม่ถูกต้อง
การปรับปรุงหรือต่อเติมบ้านโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง เช่น รั้วบ้านสูงและทึบ จนลมไม่สามารถพัดผ่านเข้าสู่ภายในบ้าน หรือการต่อเติมบ้านจนไม่มีทางให้แสงและลมเข้าออก ทำให้บ้านมืดทึบและร้อนอบอ้าว และการติดตั้งฝ้าเพดานเตี้ยเกินไป ทำให้ความร้อนที่ต้องลอยตัวขึ้นด้านบนยังคงลอยตัวในระดับต่ำ
4. เลือกเฟอร์นิเจอร์ไม่เหมาะกับบ้าน
เฟอร์นิเจอร์ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มเสน่ห์ให้กับบ้าน ซึ่งนอกจากการเลือกที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์และฟังก์ชั่นการใช้งานแล้ว หากเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่มีขนาดใหญ่ไปจะทำให้อึดอัดแล้ว และยังปิดกั้นทางลมผ่าน ส่งผลให้บ้านร้อนอบอ้าวอีกด้วย
5. ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ถูกต้อง
บ้านที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้บ้านร้อนอบอ้าวได้ และหลายคนมองข้ามในเรื่องของการเลือกใช้หลอดไส้โคมดาวน์ไลท์ ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้ความร้อนมากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ และห้องครัวไม่ได้ติดตั้งเครื่องดูดควันและพัดลมดูดอากาศ ทำให้ความร้อน กลิ่น และควัน สะสมอยู่ในตัวบ้าน
6. สีก็มีความสำคัญ
การทาสีบ้านเป็นรสนิยมของแต่ละคน ซึ่งการเลือกโทนสีเข้มทั้งภายนอกและภายในบ้าน อาจทำให้ผนังสะสมความร้อนมากเกินไป ดังนั้นการเลือกสีทาบ้านควรเลือกสีโทนอ่อนมากกว่าจะเป็นโทนเข้ม
วิธีแก้ปัญหาบ้านร้อนอบอ้าว
บ้านร้อนอบอ้าว เป็นปัญหาสำคัญลำดับต้น ๆ ของบ้านในประเทศไทย โดยวิธีการแก้ปัญหาบ้านร้อนที่ต้นเหตุ คือ การแก้ปัญหาความร้อนที่เกิดขึ้นภายนอกบ้าน เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนสะสมภายในบ้าน โดยความร้อนแผ่ลงมาจากหลังคาและผนังบ้าน โดยมีวิธีดังนี้
1. เลือกใช้ฝ้าเพดานสะท้อนรังสีความร้อน
ปัญหาความร้อนที่แผ่ลงมาจากหลังคานั้น ผู้อยู่อาศัยจะรู้สึกถึงความร้อนที่สะสมภายในห้องได้ในช่วงบ่าย สำหรับวิธีแก้ไขควรเลือกใช้แผ่นฝ้าเพดานที่สะท้อนรังสีความร้อน หรือเลือกใช้แผ่นยิปรอคชนิดสะท้อนรังสีความร้อนบุอะลูมิเนียมฟอยล์ ที่ช่วยลดการสะท้อนรังสีความร้อน โดยเลือกติดตั้งฝ้าเพดานใต้หลังคา เป็นต้น
2. การใช้ฉนวนกันความร้อน
การใช้ฉนวนกันความร้อนเป็นทางเลือกใหม่ที่สามารถช่วยลดปริมาณความร้อนจากภายนอกเเละเก็บความเย็นให้คงอยู่ภายในบ้านได้อย่างดีเยี่ยม เหมาะสำหรับผนังทิศตะวันตก ทิศใต้ หรือฝ้าชั้นบนสุด เพราะให้ประสิทธิภาพป้องกันความร้อนจากภายนอกสู่ภายในอาคารได้มากกว่าเเผ่นฝ้าเพดานธรรมดา โดยฉนวนกันความร้อนมีหลากหลายประเภท ได้แก่
ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว (Fiberglass) หรือไมโครไฟเบอร์ มีคุณสมบัติทนความร้อนสูง ช่วยดูดซับความร้อนและเสียงสะท้อน ไม่ติดไฟ มีความหนา และยืดหยุ่น ติดตั้งง่าย
ฉนวนกันความร้อนอะลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil) หรือแผ่นสะท้อนความร้อน UV มีความเหนียวทนทาน ควรติดใต้หลังคาและติดคู่กับฉนวนใยแก้ว เพื่อความร้อน
ฉนวนกันความร้อนโฟมโพลีเอทิลีน (Polyethylene Foam) หรือโฟม PE มีความหนา เหนียว ทนต่อแรงกระแทก และการกัดกร่อน มีคุณสมบัติในการช่วย แก้ปัญหาหลังคาบ้านร้อน
ฉนวนกันความร้อนโพลีสไตรีนโฟม (Polystyrene Foam) หรือโฟม PS เป็น โฟมกันความร้อนและเย็น ติดตั้งง่าย นิยมนำมาติดตั้งเป็นฝ้าเพดานหรือผนังบ้าน
3. การใช้แผ่นชนิดกันร้อนพิเศษ ยิปรอค เทอร์มัลไลน์
ประกอบไปด้วย ในการผสาน 2 คุณสมบัติพิเศษ ลดการส่งผ่านความร้อนของแผ่นยิปซัมร่วมกับฉนวนโฟม EPS Hi-Dense ให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันความร้อนจากภายนอกสู่ภายในอาคารได้มากกว่าผนังก่ออิฐทั่วไปถึง 8 เท่า ช่วยลดค่าแอร์ได้สูงสุด 69% เหมาะสำหรับผนังทิศตะวันตก ทิศใต้ หรือฝ้าชั้นบนสุด
4. เลือกใช้หลังคาสีอ่อน
เพื่อช่วยสะท้อนรังสีความร้อน โดยหลังคาที่มีสีสว่างจะสะสมความร้อนน้อยกว่าสีมืด เพราะสีสว่าง จะไม่สามารถดูดกลืนแสงบางแสงได้ เช่น สีขาว สีเทา อย่างไรก็ดีหากเลือกใช้หลังคาสีเข้มควรเลือกวัสดุที่กันความร้อน หรือเคลือบชั้นสีที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน
5. กระเบื้องเลือกพื้นที่ให้ความเย็น
ได้แก่ หินอ่อน หินแกรนิต กระเบื้องเซรามิก กระเบื้องพอร์ซเลน หรือกระเบื้องดินเผา เป็นกระเบื้องที่เหมาะสำหรับการปูกระเบื้องพื้นชั้นล่าง ด้วยวัสดุที่ช่วยเก็บความเย็น และระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายลายตามรสนิยมของผู้ที่อยู่อาศัย
ก่อผนังอิฐมอญ 2 ชั้นก็แก้ปัญหาบ้านร้อนได้
6. ก่อผนังอิฐมอญ 2 ชั้น
บ้านโดยทั่วไปมักจะก่ออิฐมอญเพียง 1 ชั้น ดังนั้นเพื่อบ้านจึงรับแสงอาทิตย์โดยตรง วิธีการแก้ปัญหาบ้านร้อนอบอ้าว ควรก่ออิฐมอญ 2 ชั้น โดยเฉพาะบ้านที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ทิศใต้ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงเวลาบ่าย เพื่อป้องกันความร้อน โดยอุณหภูมิในบ้านจะเย็นลงประมาณ 5 องศาเซลเซียส
ปัญหาบ้านร้อนอบอ้าวแก้ด้วยวิธีง่าย ๆ บ้านจะเย็นลงโดยไม่ต้องพึ่งการเปิดเครื่องปรับอากาศให้เปลืองค่าไฟ เรียกว่าลงทุนแต่ครั้งเดียวแต่ในระยะยาวเกินคุ้ม แล้วสมาชิกในครอบครัวยังใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
บ้านร้อนอบอ้าว เป็นปัญหาสำคัญลำดับต้น ๆ ของบ้านในประเทศไทย โดยวิธีการแก้ปัญหาบ้านร้อนที่ต้นเหตุ คือ การแก้ปัญหาความร้อนที่เกิดขึ้นภายนอกบ้าน เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนสะสมภายในบ้าน โดยความร้อนแผ่ลงมาจากหลังคาและผนังบ้าน โดยมีวิธีดังนี้
1. เลือกใช้ฝ้าเพดานสะท้อนรังสีความร้อน
ปัญหาความร้อนที่แผ่ลงมาจากหลังคานั้น ผู้อยู่อาศัยจะรู้สึกถึงความร้อนที่สะสมภายในห้องได้ในช่วงบ่าย สำหรับวิธีแก้ไขควรเลือกใช้แผ่นฝ้าเพดานที่สะท้อนรังสีความร้อน หรือเลือกใช้แผ่นยิปรอคชนิดสะท้อนรังสีความร้อนบุอะลูมิเนียมฟอยล์ ที่ช่วยลดการสะท้อนรังสีความร้อน โดยเลือกติดตั้งฝ้าเพดานใต้หลังคา เป็นต้น
2. การใช้ฉนวนกันความร้อน
การใช้ฉนวนกันความร้อนเป็นทางเลือกใหม่ที่สามารถช่วยลดปริมาณความร้อนจากภายนอกเเละเก็บความเย็นให้คงอยู่ภายในบ้านได้อย่างดีเยี่ยม เหมาะสำหรับผนังทิศตะวันตก ทิศใต้ หรือฝ้าชั้นบนสุด เพราะให้ประสิทธิภาพป้องกันความร้อนจากภายนอกสู่ภายในอาคารได้มากกว่าเเผ่นฝ้าเพดานธรรมดา โดยฉนวนกันความร้อนมีหลากหลายประเภท ได้แก่
ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว (Fiberglass) หรือไมโครไฟเบอร์ มีคุณสมบัติทนความร้อนสูง ช่วยดูดซับความร้อนและเสียงสะท้อน ไม่ติดไฟ มีความหนา และยืดหยุ่น ติดตั้งง่าย
ฉนวนกันความร้อนอะลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil) หรือแผ่นสะท้อนความร้อน UV มีความเหนียวทนทาน ควรติดใต้หลังคาและติดคู่กับฉนวนใยแก้ว เพื่อความร้อน
ฉนวนกันความร้อนโฟมโพลีเอทิลีน (Polyethylene Foam) หรือโฟม PE มีความหนา เหนียว ทนต่อแรงกระแทก และการกัดกร่อน มีคุณสมบัติในการช่วย แก้ปัญหาหลังคาบ้านร้อน
ฉนวนกันความร้อนโพลีสไตรีนโฟม (Polystyrene Foam) หรือโฟม PS เป็น โฟมกันความร้อนและเย็น ติดตั้งง่าย นิยมนำมาติดตั้งเป็นฝ้าเพดานหรือผนังบ้าน
3. การใช้แผ่นชนิดกันร้อนพิเศษ ยิปรอค เทอร์มัลไลน์
ประกอบไปด้วย ในการผสาน 2 คุณสมบัติพิเศษ ลดการส่งผ่านความร้อนของแผ่นยิปซัมร่วมกับฉนวนโฟม EPS Hi-Dense ให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันความร้อนจากภายนอกสู่ภายในอาคารได้มากกว่าผนังก่ออิฐทั่วไปถึง 8 เท่า ช่วยลดค่าแอร์ได้สูงสุด 69% เหมาะสำหรับผนังทิศตะวันตก ทิศใต้ หรือฝ้าชั้นบนสุด
4. เลือกใช้หลังคาสีอ่อน
เพื่อช่วยสะท้อนรังสีความร้อน โดยหลังคาที่มีสีสว่างจะสะสมความร้อนน้อยกว่าสีมืด เพราะสีสว่าง จะไม่สามารถดูดกลืนแสงบางแสงได้ เช่น สีขาว สีเทา อย่างไรก็ดีหากเลือกใช้หลังคาสีเข้มควรเลือกวัสดุที่กันความร้อน หรือเคลือบชั้นสีที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน
5. กระเบื้องเลือกพื้นที่ให้ความเย็น
ได้แก่ หินอ่อน หินแกรนิต กระเบื้องเซรามิก กระเบื้องพอร์ซเลน หรือกระเบื้องดินเผา เป็นกระเบื้องที่เหมาะสำหรับการปูกระเบื้องพื้นชั้นล่าง ด้วยวัสดุที่ช่วยเก็บความเย็น และระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายลายตามรสนิยมของผู้ที่อยู่อาศัย
ก่อผนังอิฐมอญ 2 ชั้นก็แก้ปัญหาบ้านร้อนได้
6. ก่อผนังอิฐมอญ 2 ชั้น
บ้านโดยทั่วไปมักจะก่ออิฐมอญเพียง 1 ชั้น ดังนั้นเพื่อบ้านจึงรับแสงอาทิตย์โดยตรง วิธีการแก้ปัญหาบ้านร้อนอบอ้าว ควรก่ออิฐมอญ 2 ชั้น โดยเฉพาะบ้านที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ทิศใต้ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงเวลาบ่าย เพื่อป้องกันความร้อน โดยอุณหภูมิในบ้านจะเย็นลงประมาณ 5 องศาเซลเซียส
ปัญหาบ้านร้อนอบอ้าวแก้ด้วยวิธีง่าย ๆ บ้านจะเย็นลงโดยไม่ต้องพึ่งการเปิดเครื่องปรับอากาศให้เปลืองค่าไฟ เรียกว่าลงทุนแต่ครั้งเดียวแต่ในระยะยาวเกินคุ้ม แล้วสมาชิกในครอบครัวยังใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น